Cold War สงครามเย็น

เรียบเรียงโดยนาลิน คงชูดี

  1. นิยามสงครามเย็น
               

    


 สงครามเย็น  หมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับ สหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน

2. สาเหตุของสงครามเย็น



    1. ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ เมื่อสหภาพโซเวียตนำลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้บริหารประเทศ ทำให้เกิดความหวาดระแวงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
          2.ความขัดแย้งผลประโยชน์ของชาติ สหภาพโซเวียตเน้นในด้านความมั่นคงปลอดภัยโดยเฉพาะพรมแดน ด้านตะวันตกเป็นจุดอ่อนถูกศัตรูบุกรุกได้ง่าย สหภาพโซเวียตจึงดาเนินการสถาปนารูปแบบการปกครอง แบบคอมมิวนิสต์ในประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งมีฐานะเป็นประเทศบริวารส่วนความขัดแย้งในด้านเศรษฐกิจ เนื่องมาจากสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นประเทศเจ้าหนี้ทุนนิยมที่ร่ำรวยที่สุด หากปล่อยให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัว จะทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียหนี้สิน แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และเกียรติภูมิของชาติ

            3. เกิดช่องว่างแห่งอำนาจทางการเมือง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศ โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี หมดอำนาจลง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนจึงเกิดเผชิญหน้ากัน

3. ชนวนสงคราม

 

         สหภาพโซเวียตขยายอิทธิพลลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปยังเขตยุโรปตะวันออก ประเทศโปแลนด์ ฮังการี ยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย บัลแกเรีย โรมาเนียและเซคโกสโลวะเกียตกเป็นประเทศบริวาร ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตยังต้องการคุมช่องแคบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะแนลล์ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างทะเลดากับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จึงส่งกองทัพเข้ารุกรานตุรกีและกรีซซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ  อังกฤษไม่สามารถต้านทานอิทธิพลของสหภาพโซเวียตได้จึงขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีทรูแมน(Harry S. Truman) ได้ออกประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) โดยจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางการเงินและการทหาร สหภาพโซเวียตไม่พอใจและตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้ประเทศคอมมิวนิสต์ทั่วโลกร่วมมือกันต่อต้านการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิอเมริกาและพันธมิตร สงครามเย็นและสงครามร้อนจึงเริ่มแพร่ขยายออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ

4. ขั้วอำนาจ




    

- ฝ่ายโลกเสรี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ เกาหลีใต้ เยอรมันตะวันตก เวียดนามใต้ ไทย 
- ฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ได้แก่ สหภาพโซเวียต เกาหลีเหนือ เยอรมันตะวันออก เวียดนามเหนือ ออสเตรีย 
- ฝ่ายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Nam) ได้แก่ อินโดนีเซีย ยูโกสลาเวีย สวิตเซอร์แลนด์



5. วิธีการที่ใช้ในสงครามเย็น
      1. การเผยแพร่และการโฆษณาชวนเชื่อ แนวความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ด้วยวิธีปลูกฝัง ชักจูงให้เกิดความเชื่อในตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยใช้คำพูด สิ่งตีพิมพ์ หรือสัญลักษณ์ ต่าง ๆ 
         2. การแข่งขันทางการทหาร ทั้งสองฝ่ายต่างแข่งขันกันเสริมสร้างพัฒนาอาวุธแบบใหม่และกำลังทหารให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สะสมอาวุธร้ายแรงไว้ในครอบครองให้มากที่สุด 
         3. การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ แต่ละฝ่ายต่างแข่งขันกันให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่มิตรประเทศของตน โดยวิธีบริจาคเงินให้ ให้กู้ยืมเงิน ร่วมลงทุน ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ให้เงินทุนการศึกษา
         4. นโยบายทางการฑูต มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างพยายามใช้นโยบายทางการฑูตเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างอิทธิพลเหนือประเทศอื่น มีการจัดประชุมระดับผู้นำ ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ 
        5. การแข่งขันทางวิทยาการและเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละฝ่ายพยายามแสดงออกถึงผลงานความสำเร็จก้าวหน้าของตน เช่น การคิดค้นพัฒนาขีปนาวุธ การส่งดาวเทียมไปโคจรนอกโลก การสำรวจดวงจันทร์ ดาวอังคาร  เป็นต้น



6. สถานการณ์
       
       ในเดือนมิถุนายน ค.. 1947 สหรัฐอเมริกาประกาศ ใช้แผนการมาร์แชล (Marshall Plan)  เพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกประเทศทั้งฝ่ายประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ที่มีปัญหาเศรษฐกิจเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่2 สหภาพโซเวียตตอบโต้ โดยจัดตั้งองค์การ โคมินฟอร์ม (Cominform) ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก และขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายไปทั่วโลก พร้อมกับประกาศแผนการโมโลตอฟ (Molotov Plan) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป
       สหภาพโซเวียตได้ก่อวิกฤตการณ์โดยปิดล้อมเบอร์ลิน ในเดือนมิถุนายน ค.. 1948 เพื่อตัดเส้นทางคมนาคมในเขตยึดครองของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย แต่สหรัฐอเมริกาแก้ไขได้ โดยจัดส่งเสบียงอาหาร และสัมภาระเข้าช่วยทางอากาศทำให้สหรัฐอเมริกาต้องจัดตั้งองค์การทหารแก่สมาชิก ในค่ายโลกเสรีสหภาพโซเวียต ตอบโต้ด้วยการรวมกลุ่มพันธมิตรฝ่ายตนตั้งองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Treaty Organization) และจัดตั้งองค์การโคมีคอน (Comecon) เพื่อเข้าช่วยเหลือทางเศรษฐกิจตามแผนการโมโลตอฟ 


              สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ได้ร่วมมือกันสถาปนาเยอรมนีในเขตยึดครองเป็นประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) เพื่อสร้างเยอรมนีให้เข้มแข็งไว้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตย เยอรมนี(เยอรมนีตะวันออก) ในเขตยึดครองของตนในเดือนตุลาคม 1949
              ในปีเดียวกันสงครามเย็นในระยะแรกทั้งสองค่ายต่างป้องปรามซึ่งกันและกันด้วยยุทธวิธีทุกรูปแบบ ทำให้การเมือง ระหว่างประเทศทวีความตึงเครียดสูงขึ้น ใน ค.ศ. 1960 สหภาพโซเวียตได้สร้างกำแพงปิดล้อมเบอร์ลิน ตะวันตกเพื่อสกัดกั้นชาวเยอรมนีตะวันออก ไม่ให้หลบหนีเข้าเขตเบอร์ลินตะวันตก กำแพงเบอร์ลินจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นในยุโรป


          ค.ศ. 1949-1955 ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ขยายตัวมายังจีนในระยะที่จีนมีปัญหาการเมืองภายในประเทศอันเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นสาธารณรัฐ เกิดปัญหาเศรษฐกิจ   ซุนยัดเซ็นต้องยอมรับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเกิดขึ้น เมื่อเหมาเจ๋อตุงขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคในระยะต่อมาได้เกิดการขัดแย้งกับเจียงไคเช็คเป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมือง เหมาเจ๋อตุงใช้ยุทธวิธีการรบแบบใหม่่ให้ชาวนาในชนบทเป็นฐานการต่อสู้กับรัฐบาล จนมีชัยชนะสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม ค.ศ.1949 เจียงไคเช็คได้อพยพไปอยู่ไต้หวันจัดตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติ


               สงครามเย็นได้ขยายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเข้ามามีบทบาทให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอินโดจีนเป็นเขตที่เกิดสงครามเย็นรุนแรงมาก อินโดจีนประกอบด้วย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นเขตอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นให้เอกราชอินโดจีน เมื่อสงครามสิ้นสุดลงฝรั่งเศสกลับมาปกครองอินโดจีนอีก ทำให้เวียดนามประกาศเอกราชจึงเกิดการสู้รบกันขึ้นโดยมีสาธารณรัฐอเมริกาหวาดกลัวภัยจากจีนมากได้นำนโยบายปิดล้อมคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอเชีย โดยการจัดรวมกลุ่มพันธมิตรร่วมป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO)ในค..1954เพื่อสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพฯ

 7. สงครามตัวแทน


     ความขัดแย้งในเยอรมัน




                   เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงมี 4 ประเทศเข้ายึดครองเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ และ สหภาพโซเวียต โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯพยายามที่สถาปนาดินแดนเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกันแต่สหภาพโซเวียตไม่ยินยอม จึงทำให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯรวมดินแดนเยอรมันที่ตนเองยึดครองไว้เข้าด้วยกันเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน(เยอรมันตะวันตก) ส่วนดินแดนที่สหภาพโซเวียตยึดครองสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมันตะวันออก)
                     หลังจากนั้นมีการสร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) เป็นกำแพงที่กั้นเบอร์ลินตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกโดยรอบ เพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก โดยกาแพงเบอร์ลินนี้ได้ถูกสร้างไว้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) เยอรมันทั้งสองประเทศได้ผนวกเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งถือกันว่าเป็นการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น เพราะกำแพงเบอร์ลินถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น

สงครามเกาหลี



                   เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศโดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต โดยเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ได้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น เมื่อกำลังทหารเกาหลีเหนือทำการรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา และเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2493 สามารถยึดกรุงโซลได้
              สหประชาชาติได้มีมติให้นำกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีใต้ ภายใต้การนำของสหรัฐฯ(มีกำลังทหารจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย) เมื่อกำลังสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ ทำให้จีนเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าสู่พื้นที่การรบตามมา ในสงครามเกาหลีตลอดห้วงเวลาร่วม3 ปีที่รบกันมา การสู้รบด้วยกาลังทหารขนาดใหญ่แทบจะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้มีความพยายามที่จะเจรจาสงบศึกกันของทั้งสองฝ่าย ต่อมามีข้อตกลงสงบศึกที่เป็นผลจากการเจรจาที่ยืดเยื้อถึง 255 ครั้ง โดยองค์การสหประชาชาติได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ในสงครามเกาหลีนี้ มีผู้สูญเสียจากการรบกว่า 4 ล้านคน ทั้งทหารและพลเรือน

สงครามเวียดนาม

                    


         สถานการณ์เริ่มมาจากขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนาของ โฮจิมินห์ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองเวียดนามในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้าไปมีอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสอีกครั้ง โฮจิมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือในการเจรจากับฝรั่งเศส
               แต่สหรัฐฯได้นิ่งเฉยเพราะมีความเกรงใจฝรั่งเศส โฮจิมินห์จึงได้เปลี่ยนไปร้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนแทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี สถานการณ์ในคาบสมุทรอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อขบวนการ  เวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟู ส่งผลให้ เวียดนาม ลาว เขมรได้รับเอกราช และด้วยความพ่ายแพ้นี้เองทำให้ฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เข้ามามีบทบาทแทนฝรั่งเศสในภูมิภาคทางเวียดนามใต้นี้
การเข้าไปมีอิทธิพลในเวียดนามใต้ได้นาไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการ เวียดกง ซึ่งการต่อต้านนี้ได้สถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่สงครามจำกัด (Limited War) ที่รู้จักกันในชื่อ สงครามเวียดนามโดยการสู้รบในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการทำสงครามสมัยใหม่ด้วยบทเรียนราคาแพงของสหรัฐฯ นำมาซึ่งการถอนตัวออกจากภูมิภานี้เมื่อ สหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างชัยชนะขึ้นได้ในดินแดนเวียดนาม
                     

สหรัฐฯได้ใช้เวลานานหลายปี ใช้กำลังพลมหาศาล กองทัพที่เกรียงไกรมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่สูญเสียกาลังพลเกือบจะ 6 หมื่นคนในขณะที่เวียดนามสูญเสียคนไปหลายล้านคน(ในสงครามเวียดนามไทยสูญเสียทหารไป 351 นาย)  ในที่สุดสหรัฐฯได้ถอนกำลังทหารออกไปจากภูมิภาคนี้ด้วยปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศของตนเอง ทำให้เวียดนามรวมประเทศเวียดนามเหนือและใต้และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐฯได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ ฯ และเวียดนามขึ้นอีกครั้ง


สงครามในลาว
                     
         หลังจากฝรั่งเศสได้ถอนตัวไปจากภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของลาว แต่สถานการณ์ไม่ได้สงบเรียบร้อยตามมาเมื่อ ขบวนการกู้ชาติที่มีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ยอมรวมกับฝ่ายรัฐบาลที่นิยมประชาธิปไตย(เป็นรัฐบาลที่ฝรั่งเศสได้จัดตั้งก่อนจะถอนทหารออก) เลยส่งผลให้สงครามในลาวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชเปลี่ยนสถานภาพไปสู่สงครามระหว่างลัทธิ
                     โดยสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายขบวนการกู้ชาติได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดมินห์ แต่ฝ่ายรัฐบาลได้พ่ายแพ้เมื่อสหรัฐฯถอนกาลังออกจากภูมิภาคนี้ ฝ่ายลาวสูญเสียไปประมาณ 5 หมื่นคน
                     


สงครามในกัมพูชา
                    
         เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชหลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสใน เดียนเบียนฟู ได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศพร้อม ๆ กับรับการช่วยเหลือจากทุกฝ่ายทั้งโลกประชาธิปไตยและโลกคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อสหรัฐฯไม่สามารถควบคุมการดำเนินการต่างของเจ้าสีหนุในขณะนั้นได้ ทำให้สหรัฐฯสนับสนุนให้มีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น
              ทำให้เจ้าสีหนุลี้ภัยไปกรุงปักกิ่งและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและร่วมมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่รู้จักกันในชื่อเขมรแดง (Khmer Rouge) หรือ พรรคคอมมิวนิสต์เขมร”(Khmer Communist Party) หรือ กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย”(National Army of Democratic Kampuchea) คือ พรรคการเมืองกัมพูชาที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522
                     


      ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้รัฐบาลกัมพูชาได้พ่ายแพ้ต่อเขมรแดงและกัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยม ในความขัดแย้งนี้มีผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามกว่า 7 หมื่นคน และเสียชีวิตเมื่อเขมรแดงที่นำโดยนายพลพต เข้ายึดครองกัมพูชาอีกกว่า 1.5 ล้านคน


สิ้นสุดสงคราม


            ระยะแห่งการสิ้นสุดสงครามเย็น (ช่วงทศวรรษที่ 1990) เมื่อสหภาพโซเวียตปฏิรูปประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่นายมิคาอิล กอร์บาชอฟขึ้นมาเป็นผู้นำได้ประกาศแนวนโยบายกลาสนอต (Glasnost) และเปเรสทรอยก้า (Perestroika) โดยเปิดประเทศเข้าสู่ระบบเสรี ปรับเศรษฐกิจให้เอกชนเข้าไปประกอบธุรกิจ การผลิตและการขายให้เป็นไปตามหลักการเสนอและสนองปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการรับข่าวสารข้อมูล ลดกำลังทหารและกองกำลังภายนอกประเทศ ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานและประเทศในยุโรปตะวันออก การปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าว ทำให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มผู้นาคอมมิวนิสต์หัวเก่าจนเกิดการปฏิวัติขึ้น แต่ล้มเหลวทำให้พรรคคอมมิวนิสต์หมดอำนาจ ส่งผลทำให้แลตเวีย เอสโตเนีย     ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นรัฐทางทะเลบอลติกประกาศเอกราช ไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตต่อมารัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระปกครองของตนเอง มีผลทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลง 
            ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 ส่วนสาธารณรัฐรัสเซียภายใต้การนาของ นายบอริส เยลท์ซิน ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ประเทศบริวารของสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออกเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างแยกตัวเป็นอิสระ
              


       หลายประเทศปรับเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยจากการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ส่งผลทำให้มีการสลายตัวขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ องค์การโคมีคอน เมื่อเยอรมนีตะวันออกเปลี่ยนตัวผู้นำ ได้ทุบทำลายกำแพงเบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1989 นับเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดสงครามเย็น และการละเมิดสิทธิมนุษยชนถูกทำลายลง มีผลทำให้ประชาชนของเยอรมนี ทั้งสองประเทศ เดินทางเข้าออกได้อย่างอิสระ นาไปสู่การรวมประเทศเยอรมนีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ใน ค.ศ. 1990


สงครามเย็น. ( 2556). (ออนไลน์ ). แหล่งสืบค้น :
saipin2.files.wordpress.com/.../e0b980e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8ade0b8...
บทบาทมหาอำนาจช่วงสงครามเย็น. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:                 saipimm.files.wordpress.com/.../e0b8aae0b8b1e0b887e0b884e0b8a1e0b...
สงครามเย็น( Cold War) – หน้าบ้านจอมยุทธ. (2556). (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
                www.baanjomyut.com › ห้องสมุด               
PDF บทที่ ๕ สงครามเย็น (COLD WAR) – กองทัพเรือ. ( 2556 ). (ออนไลน์).

    แหล่งที่มา:  www.navy.mi.th/navedu/acd/data_docu/wor.../chapter_5.pdf



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สงครามอิรัก-อิหร่าน

การเขียนรายงานเชิงวิชาการที่ดี