การเขียนรายงานเชิงวิชาการที่ดี

เรียบเรียงโดยนาลิน คงชูดี

รายงานทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการสำรวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ

 ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

รายงานเชิงวิชาการมีส่วนประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย มีรายละเอียดดังนี้

1. ส่วนนำ ประกอบด้วย
         1.1 ปกนอก คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้า และปกหลังกระดาษที่ใช้เป็นปกควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควร สีใดก็ได้ ข้อความที่ปรากฏบนปกนอกดูได้ตามตัวอย่างที่ได้แสดงไว้
         1.2 ใบรองปก คือ กระดาษเปล่า ๑ แผ่น อยู่ต่อจากปกนอก เพื่อความสวยงาม และเป็นเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้เสียหายถึงปกใน หากปกฉีกขาดเสียหายไป
           1.3 ปกใน คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากปกนอก นิยมเขียนเหมือนปกนอก
          1.4  คำนำ คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน (ถ้ามี) ให้ลงท้ายด้วยชื่อผู้จัดทำรายงาน หากมีหลายคนให้ลงว่าคณะผู้จัดทำ และลงวันที่กำกับ
          1.5 สารบัญ คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าคำนำ ในหน้าสารบัญจะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน ทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ขอบเขตเนื้อหาของรายงานครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ในหน้านี้ให้เขียนคำว่า สารบัญไว้กลางหน้า ข้อความในหน้าสารบัญจะเริ่มต้นจากคำนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ ของรายงาน เรียงตามลำดังเรื่อง และท้ายสุดเป็นรายการอ้างอิงที่ใช้ประกอบการเรียบเรียงรายงาน ข้อความในหน้าสารบัญ ควรเขียนห่างจากขอบซ้ายของหน้ากระดาษประมาณ ๑.๕ นิ้ว และด้านขวาจะมีเลขหน้าแจ้งให้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใด หน้าสารบัญควรจัดทำเมื่อเขียนรายงานเสร็จแล้ว เพื่อจะได้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใดบ้าง
2. ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน ผลงานการศึกษาค้นคว้า จะนำมาเสนอตามโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ โดยก่อนเริ่มต้น ควรมีการเกริ่นเรื่อง และจบเนื้อเรื่องด้วยบทสรุป เนื้อหาที่เขียนนั้นจะต้องเขียนอย่างมีหลัดเกณฑ์ หรืออ้างอิงหลักวิชา แสดงความคิดที่เฉียบแหลมและลึกซึ้ง
             ส่วนประกอบที่แทรกในเนื้อหานั้นอาจแบ่งได้ดังนี้
                2.1 อัญประภาษ (Quotation) คือ ข้อความที่คัดมาจากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่นมาไว้ในรายงานของตน หรืออีกอย่างหนึ่งว่า "อัญพจน์"
              2.2 การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnotes) เชิงอรรถเป็นข้อความซึ่งบอกที่มาของข้อความที่นำมาอ้างประกอบการเขียนรายงาน หรืออาจจะเป็นข้อความที่ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำ หรือข้อความในรายงานก็ได้ ถ้าแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้ เชิงอรรถจะมี 3 ประเภทด้วยกันคือ
                            2.2.1 เชิงอรรถอ้างอิง หมายถึง เชิงอรรถที่ใช้บอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาเป็นหลักฐานประกอบการเขียน เพื่อแสดงว่า สิ่งที่นำมาอ้าง ในรายงานนั้น ไม่เลื่อนลอย และผู้อ่านรายงานจะตัดสินใจได้ว่า ข้อความที่นำมาอ้างนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด ดังตัวอย่าง
             พระยาอนุมานราชธน, แหลมอินโดจีนโบราณ (พระนคร : คลังวิทยา, ๒๔๗๙), หน้า ๓๐๕.
                             2.2.2 เชิงอรรถอธิบาย หมายถึง เชิงอรรถซึ่งอธิบายความที่ผู้เขียนรายงานคิดว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน อาจจะเป็นคำนิยม หรือความหมายของศัพท์ที่ผู้ทำรายงานประสงค์จะให้ผู้อ่านทราบเพิ่มเติมก็ได้ ดังตัวอย่าง
             ลัทธิความน่าจะเป็น หมายถึง ลัทธิความเชื่อหนึ่งที่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ หรือมีทางเป็นไปได้ ที่จะทำนายลำดับก่อนหลัง ที่แน่นอนของ เหตุการณ์ โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตเป็นพื้นฐาน
                  การอ้างอิงเชิงอรรถของข้อความในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งคัดลอกมาจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง มีวิธีเขียน 2 แบบ คือ
                     1. ถือเล่มเดิมเป็นหลักฐานที่สำคัญ ดังตัวอย่าง
                เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า ๑๒๑, อ้างถึงใน สมบัติ พลายน้ำ, "ประวัติชีวิตพรสุนทรโวหาร (ภู่)," อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี, จัดพิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๙), หน้า ๔๙
                      2. ถือเอกสารใหม่เป็นหลักฐานที่สำคัญ ดังตัวอย่าง
                                สมบัติ พลายน้ำ "ประวัติชีวิตพระสุนทรโวหาร (ภู่)," อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี, จัดพิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๙), หน้า ๔๙ อ้างจาก เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า ๑๒๑
         2.3 การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา การอ้างอิงแบบนี้เป็นอ้างอิงที่มาของข้อความแทรกไปในเนื้อหาของรายงาน การอ้างอิงแบบนี้ ได้รับความนิยมมากกว่า การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เพราะสะดวกในการเขียนมี ๒ แบบ คือ
                                2.3.1 ระบบนามปี จะระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหน้าที่อ้าง เช่น วรรณคดีเปรียบเสมือนเรื่องแสดงภาพชีวิต คามคิด จิตใจ อุดมคติ หรือความนิยม ความต้องการของมนุษย์ วรรณคดีในอดีตเป็นเครื่องบันทึกสภาพดังกว่า เช่นเดียวกับวรรณกรรมปัจจุบันเป็นส่วนบันทึกความเป็นไปในปัจจุบัน
                                (กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๒๐ : ๑๕๒-๑๕๓)
                                2.3.2ระบบหมายเลข จะระบุหมายเลขตามลำดับเอกสารที่อ้างและหน้าที่อ้าง เช่น
                                อุปมาโวหาร คือ กระบวนความเปรียบเทียบ ใช้แทรกในพรรณนาโวหาร เพื่อช่วยให้ข้อความแจ่มชัดคมคาย (๑ : ๑๓๙-๑๔๐)
3. ส่วนท้าย เป็นส่วนที่ทำให้รายงานน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ ประกอบด้วย
            3.1 บรรณานุกรม (Bibiogecphy) หมายถึง รายชื่อเอกสารต่างที่ใช้ประกอบในการทำรายงาน โดยให้รายละเอียดต่างๆ เช่นเดียวกับเชิงอรรถ แต่มีวิธีเขียนที่แตกต่างกันเล็กน้อย บรรณานุกรมนี้จะเขียนไว้ท้ายเล่ม โดยแยกตามประเภทของเอกสารดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ


1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง
                 1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว



                1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2



                 1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3



             1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ


                  
                  1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง


                  1.1.6  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์



2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร




2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่


3. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
3.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ



                         

                  หลักการเขียนบรรณานุกรมที่ดียังมีให้ศึกษาอีกมากมาย นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยๆที่นำมาฝากกันกับชาวสังคมศึกษา หาอ่านเพิ่มเติมที่ ลิงก์นี้  การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
แหล่งที่มา
การเขียนบรรณานุกรม http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit5_part13.htm 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ (2556). (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://203.172.198.146/other_web/Thai/Thai03/write4.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Cold War สงครามเย็น

สงครามอิรัก-อิหร่าน