บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2013
รูปภาพ
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์กับเศรษฐกิจโลก ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  1.  วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ กรณีวิกฤต subprime ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯและตลาดหุ้นทั่วโลก และทำท่าว่า ฟองสบู่ของเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะแตกก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะวิกฤต ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ต้นตอของ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เป็นผลมาจาก ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คือ ปัญหาของการขาดสภาพคล่อง ที่เป็นผลมาจากการปล่อยกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และได้มีการนำเอาเงินกู้ดังกล่าวไปเปลี่ยนสภาพและปล่อยกู้ต่อให้ธนาคารต่างๆ ทั่วโลก ผลสืบเนื่องจึงเป็นลักษณะลูกโซ่ ทำให้ธนาคารต่างๆทั่วโลกมีความไม่แน่ใจในค่าของเงินกู้ดังกล่าว และเริ่มมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ เริ่มมีความไม่เชื่อมั่นในสถานะทางการเงินของธนาคารต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ทั้งธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทและผู้บริโภค มีความยากลำบากในการกู้เงิน ยังไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า ผลกระทบของวิกฤต subprime จะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน บางคนมองว่า อาจจะเป็นเพียงทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง แต่บางคนก

สงครามอิรัก-อิหร่าน

รูปภาพ
โดย นาลิน  คงชูดี 1. ความเป็นมาของสงครามอิรัก-อิหร่าน                 สงครามอิรัก – อิหร่าน เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1980 -1988   โดยสาเหตุใหญ่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำชัตต์ อัล – อาหรับ โดยอิรักภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งในขณะนั้น อิหร่านกำลังเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจากการนำของ อยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี ผู้โค่นบัลลังก์ของพระเจ้าชาห์ โฒฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี แห่งอิหร่าน ได้สำเร็จภายหลังทั้ง 2 ประเทศยอมรับมติของสหประชาชาติ  สงครามจึงยุติลง 2. สาเหตุของสงคราม                 2.1 ประเด็นดินแดน ชัต-อัลอาหรับ                 ดินแดนบริเวณนี้มีแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสไหลมาบรรจบกัน ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้มากทำให้อิรักและอิหร่านก็ต่างต้องการยึดไว้เป็นของตน                 2.2 ปัญหาจังหวัดคูเซสสถาน                 จังหวัดนี้เป็นจังหวัดชายแดนของอิหร่าน แต่อิรักต้องการเข้าครอบครองดินแดนนี้ เพราะจังหวัดนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง                 2.3   ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ