สงครามอิรัก-อิหร่าน

โดย นาลิน  คงชูดี



1. ความเป็นมาของสงครามอิรัก-อิหร่าน
                สงครามอิรัก อิหร่าน เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1980 -1988  โดยสาเหตุใหญ่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำชัตต์ อัล อาหรับ โดยอิรักภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งในขณะนั้น อิหร่านกำลังเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจากการนำของ อยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี ผู้โค่นบัลลังก์ของพระเจ้าชาห์ โฒฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี แห่งอิหร่าน ได้สำเร็จภายหลังทั้ง 2 ประเทศยอมรับมติของสหประชาชาติ  สงครามจึงยุติลง


2. สาเหตุของสงคราม
                2.1 ประเด็นดินแดน ชัต-อัลอาหรับ
                ดินแดนบริเวณนี้มีแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสไหลมาบรรจบกัน ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้มากทำให้อิรักและอิหร่านก็ต่างต้องการยึดไว้เป็นของตน
                2.2 ปัญหาจังหวัดคูเซสสถาน
                จังหวัดนี้เป็นจังหวัดชายแดนของอิหร่าน แต่อิรักต้องการเข้าครอบครองดินแดนนี้ เพราะจังหวัดนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง

                2.3  ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ
                ชาวอิรักส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาหรับ แต่ชาวอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เชีย เหตุที่มีความแตกต่างกันของเชื้อชาติจึงเกิดทะเลาะวิวาทกันอยู่ประจำ โดยเฉพาะในบริเวณพรมแดนของทั้ง 2 ประเทศนี้
                2.4  ปัญหาความขัดแย้งของผู้นำทั้งสองประเทศ
                ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ไม่พอใจนโยบายการนับถือศาสนาของผู้นำอิหร่าน อยาโตลลาห์ โคไมนี ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ และไคโมนีก็มีความเกลียดชังผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุหนี่มากและมีความตั้งใจที่จะทำลายล้างให้หมด
               

3. ชนวนสงครามอิรัก-อิหร่าน
                อิหร่านให้การสนับสนุนชาวเคิร์ด ในอิรัก เนื่องจากชาวเคิร์ดไม่ได้ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของอิรัก ชาวเคิร์ดจึงประกาศสงครามกับอิรัก ซึ่งในขณะนั้น อิหร่านและอิรักเกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้นเนื่องจากการอาจสิทธิ์เหนือน่านน้ำชัตต์ อัล อาหรับ
                ค.ศ. 1975 อิรัก อิหร่าน หันหน้าตกลงกันโดยอิรักยอมเลิกการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำชัตต์ อัล อาหรับ และอิหร่านหยุดให้การช่วยเหลือชาวเคิร์ดหลังจากเหตุการณ์สงบได้เพียง 5 ปี ก็เกิดปัญหาจนนำไปสู่สงครามอิรัก อิหร่านขึ้น ค.ศ. 1980 เกิดการสู้รบบริเวณชายแดน อิรัก อิหร่าน เนื่องจากปัญหาพรมแดนของทั้ง 2 ประเทศ อิรักได้ขับไล่ทูตและชาวอิหร่าน ออกนอกประเทศ และได้ประกาศยกเลิกข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 1975


4. สถานการณ์สงครามอิรัก-อิหร่าน

            เดือนกันยายน 1980 สงครามเริ่มก่อตัว

           หลังจากอิหร่านปฏิวัติศาสนาอิสลามในปี 1979 และซัดดัม ฮุสเซนได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำอิรักในวันที่ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ เนื่องจากอยาตอลเลาะห์ โคมัยนี ที่อิหร่านยกขึ้นเป็นผู้นำประเทศ และผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ มีความประสงค์ที่จะส่งผ่านแนวคิดของเขาไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง รวมทั้งอิรักซึ่งมีชนชั้นนับถือนิกายสุหนี่ด้วย แม้ว่าประชาชนในอิรักส่วนใหญ่จะนับถือนิกายชีอะห์ก็ตาม กระแสสนับสนุนอยาตอลเลาะห์ โคมัยนีระบาดไปทั่ว แต่ชนชั้นนำเหล่านี้ก็ปกครองประเทศมานานจึงยอมไม่ได้ที่จะให้อิหร่านมาทำลายความมั่นคงของพวกตนประกอบกับในช่วงเวลานั้นอิรักและอิหร่านขัดแย้งกันในเรื่องพรมแดนอยู่ก่อนหน้า อิรักจึงตัดสินใจที่จะบุกอิหร่าน เริ่มแรกทั้งสองประเทศสู้รบกันอย่างประปรายตามแนวชายแดน กระทั่งเดือนกันยายน ปี 1980 อิรักจึงเริ่มบุกอิหร่านอย่างเต็มขั้น โดยเริ่มรุกเข้าชายแดนของจังหวัดคูเซสถานเป็นอันดับแรก จนกระทั่งลุกลามและกลายเป็นสงคราม 8 ปีในที่สุด


                วันที่ 7 มิถุนายน 1981: อิสราเอลร่วมสงคราม

                สงครามระหว่างเพื่อนบ้านทั้งสองขยายไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะยุติ กระทั่งในวันที่ 7 มิถุนายน 1981 อิสราเอลก็ได้ทิ้งระเบิดใกล้กับกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก ถึงแม้อยาตอลเลาะห์ โคไมนีจะเป็นพวกต่อต้านยิวไซออนนิสต์ (กลุ่มชาวยิวหัวรุนแรง ซึ่งไม่หมายรวมถึงชาวยิวทั่วไป) แต่อิสราเอลก็ให้การสนับสนุนอิหร่านในสงครามครั้งนี้ เพราะต้องการทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้ทำการวิจัยของอิรัก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กรุงแบกแดด เพื่อตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้อิรักพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาถล่มประเทศของตนได้ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจส่งเครื่องบินเอฟ-16 ไปทิ้งระเบิดของนายกรัฐมนตรีเมนาเชม เบกินในครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาเป็นอันมาก แม้ว่าอิสราเอลจะเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ ก็ตาม

                1980 – 1988: การสนับสนุนจากตะวันตก

           ชาติตะวันตกมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับอิรัก และให้ความช่วยเหลือรัฐบาลแบกแดดตลอดช่วงสงคราม โดยเฉพาะในด้านการทหาร เนื่องจากเกรงว่าโคมัยนีจะแพร่ขยายแนวคิดเรื่องศาสนาไปทั่วภูมิภาค และไม่ต้องการให้อิหร่านเป็นฝ่ายชนะสงคราม ในปี 1982 สหรัฐฯ จึงถอดชื่ออิรักออกจากรายชื่อชาติที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย และอีกสองปีต่อมาทั้งสองประเทศก็สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอีกครั้ง หลังจากมีท่าทีบึ้งตึงมาตั้งแต่สงครามอาหรับ-อิสราเอล เมื่อปี 1967
                
    แหล่งอาวุธหลักของอิรักคือสหภาพโซเวียต ขณะเดียวกันชาติตะวันตกหลายชาติได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ก็ได้ให้การช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่อิรัก ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯ ยังแบ่งข้อมูลบางส่วนให้รัฐบาลแบกแดดด้วย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิรักก็มีอันร้าวฉาน เมื่อเรื่องแดงออกมาว่า สหรัฐฯ  ยังลอบขายอาวุธให้กับกองกำลังอิหร่าน-คอนทรา เพื่อหวังจะทำลายความมั่นคงของเลบานอน ทั้งนี้ ในช่วงที่สงครามใกล้จะยุตินั้น อิรักและอิหร่านได้เปลี่ยนมาใช้นโยบายแข่งขันกันส่งออกน้ำมันแทนการรบ  เพื่อบ่อนทำรายผลกำไรทางการค้าของอีกประเทศ ส่งผลให้สหรัฐฯ อังกฤษและฝรั่งเศสต้องส่งเรือรบไปตะวันออกกลาง เพื่อคุ้มครองเรือส่งน้ำมันของคูเวต ซึ่งอาจถูกอิหร่านโจมตี

                1980 – 19881983 – 1988: สงครามเคมี

               ปี 1983 อิรักเริ่มใช้แก๊สมัสตาร์ดในการทำสงครามกับอิหร่าน และทดลองใช้แก๊สทาบุน ที่มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทในปี 1985 การใช้อาวุธเคมีของอิรักทำให้ชาวอิหร่านราว 3,200 – 5,000 คนต้องจบชีวิตอย่างอนาถ ส่วนผู้ที่รอดชีวิตนั้น ต้องประสบกับปัญหาสุขภาพไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ ในวันที่16 มีนาคม 1988 อิรักก็ทิ้งระเบิดซึ่งบรรจุแก๊สมาสตาร์ด ซาริน และทาบุนใส่กองกำลังชาวเคิร์ตที่ฮาลับจา ทางภาคเหนือของประเทศเนื่องจากคนกลุ่มนี้สนับสนุนอิหร่าน การใช้อาวุธเคมีของอิรัก ทำให้ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติประกาศในปี 1986 ว่า อิรักละเมิดอนุสัญญาเจนีวา ขณะที่ชาติตะวันตกอื่นๆ เลิกให้การสนับสนุนด้านการทหารกับรัฐบาลแบกแดด และเร่งดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้สงครามนี้ยุติโดยเร็ว


                   สิงหาคม 1988: วางอาวุธพักรบ

             วันที่ 18 กรกฎาคม 1988 อิหร่านยอมรับข้อเสนอขององค์การสหประชาชาติที่ให้มีการพักรบชั่วคราว ก่อนที่จะมีการหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ถึงแม้ในช่วงสิ้นสุดสงครามจะไม่มีประเทศใดสูญเสียพรมแดน แต่เศรษฐกิจและประชาชนทั้งของอิรักและอิหร่านก็ได้รับความเสียหายอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลได้นำงบประมาณไปทุ่มให้กับการทำสงครามจนเกือบหมด มีการประมาณการกันว่า สงครามแปดปีนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปทั้งสิ้น 400,000 คน บาดเจ็บ 750,000 คน ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้น ทั้งอิรักและอิหร่านต่างได้รับความเสียหายไปชาติละกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ และยังสูญเสียรายได้จากการขายน้ำมันอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อีกสามปีให้หลัง (1991) ไม่นานหลังจากที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนออกคำสั่งให้กองทัพอิรักบุกคูเวต อิรักก็ตกลงทำตามสนธิสัญญาที่ได้ลงนามไว้กับอิหร่านในปี 1975

5. ผลสรุปของสงครามอิรัก-อิหร่าน


                ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988 สงครามที่สู้รบกันมาเกือบ 8 ปี ระหว่างอิรักและอิหร่านก็ถึงจุดสิ้นสุด เมื่อประธานาธิบดี อาลี คาเมนี (Ali Khamenee) แห่งอิหร่าน ส่งสารถึง นายฮาเวียร์ เปเรซ เต เควญญาร์ (Javier Perez de Cuellar) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ขอยุติสงครามกับอิรัก โดยยอมรับมติที่ 598 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
                หลังจากที่สงครามอิรัก-อิหร่าน ยุติลง ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องล้มตายเป็นจำนวนมากมาย สัตว์ทะเลและนกจำนวนนับล้านตัวถูกทำลายซึ่งเป็นผลมาจากมลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขีปนาวุธและน้ำมันที่ลอยบนผิวน้ำ และต่อจากนั้น ผลจากที่อิรักได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างหนัก กำลังจะนำไปสู่สงครามอ่าวเปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1991


บรรณานุกรม
สงคราอิรัก-อิหร่าน  (2556).  (ออนไลน์).  แหล่งที่มา : 
http://squarezooo.wordpress.com . วันที่สืบค้น  26  มิถุนายน 2556.
สงครามอิรัก อิหร่าน : มหาสงครามผลาญน้ำมัน  (2556). (ออนไลน์).  แหล่งที่มา : 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Cold War สงครามเย็น

การเขียนรายงานเชิงวิชาการที่ดี