บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

ชาตินิยมและการต่อสู้เพื่อเอกราชในอินเดีย

รูปภาพ
เรียบเรียงโดยนาลิน คงชูดี ขบวนการชาตินิยมของอินเดียเริ่มเติบโตตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งองค์กรชาตินิยมที่มีบทบาทในฐานะปากเสียงของประชาชน ได้แก่ คองเกรสแห่งชาติอินเดีย ( Indian National Congress) ซึ่งเปิดประชุมครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๘๕ ที่บอมเบย์ซึ่งเริ่มแรกมีผู้เข้าประชุมเพียง ๗๐ คนจากนั้นก็มีการประชุมทุกๆปีและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าองค์กรนี้จะตั้งโดยชาวฮินดูผู้มีการศึกษาและชาวอังกฤษผู้มีเป็นธรรมอีกทั้งยังมีชาวมุสลิมที่สนใจเข้าร่วมด้วย จุดประสงค์ของคองเกรสในตอนแรกคือยืนยันที่จะ “ ตอบคำถามที่ว่าอินเดียยังไม่เหมาะที่จะมีสถานบันผู้แทนไม่ว่ารูปแบบใดๆทั้งสิ้น ”  แต่ก็ดูเหมือนจะเลื่อนลอยในการที่จะให้มีการปกครองแบบสภา เพราะสมาชิกคองเกรสส่วนใหญ่ยังจงรักภักดีต่ออังกฤษ ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ ๒๐ มีนักเคลื่อนไหวชาตินิยมรุ่นแรกเช่น ดาดาภัย เนาโรจิ นักธุรกิจชาวอินเดียที่อยู่ในลอนดอนเป็นเวลานาน จนได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภาสามัญของอังกฤษในนามพรรคเสรีนิยม เขาได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปตรวจสอบการบริหารการคลังของอังกฤษในอินเดีย นักชาตินิยมคนต่อมาคือ เอ็ม จี รานาด เนื่องจากเขาเป็

สงครามฝิ่น

รูปภาพ
เรียบเรียงโดยนาลิน คงชูดี สงครามฝิ่นครั้งที่ 1 สงครามฝิ่นเป็นสงครามระหว่างประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน กับอังกฤษ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก สงครามฝิ่นเกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1834-1843 และครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1856-1860 สงครามฝิ่นเป็นผลมาจากการที่จีนไม่ยอมเปิดประตูการค้าเสรีตามความต้องการของชาติตะวันตก สมัยนั้นจีนทำการค้ากับชาติตะวันตกด้วยระบบการผูกขาดโดยพ่อค้าจีนที่เรียกว่า ก้งหอง หรือ กงหาง ในภาษาแมนดาริน (จีนกลาง) และจำกัดขอบเขตการค้าขายอยู่ในเมืองกวางโจว (เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง) ฝ่ายอังกฤษซึ่งดำเนินการค้าโดยบริษัทอินเดียตะวันออก ขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลให้แก่จีน เนื่องจากนำเข้าใบชาจากจีนจำนวนมาก แต่กลับไม่สามารถขายสินค้าให้แก่จีนได้อย่างเสรี                 กระทั่งทศวรรษ 1820 บริษัทพบสินค้าใหม่ซึ่งทำกำไรให้งดงาม คือ ฝิ่น ซึ่งปลูกในอินเดีย (อาณานิคมของอังกฤษ) ส่งผลให้สถานภาพการเสียเปรียบดุลการค้าของอังกฤษดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากกลายเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าให้แก่อังกฤษ รัฐบาลชิงยังตระหนักถึงพิษ

การเขียนรายงานเชิงวิชาการที่ดี

รูปภาพ
เรียบเรียงโดยนาลิน คงชูดี รายงานทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการสำรวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ   ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ รายงานเชิงวิชาการมีส่วนประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย มีรายละเอียดดังนี้ 1. ส่วนนำ ประกอบด้วย          1.1  ปกนอก คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้า และปกหลังกระดาษที่ใช้เป็นปกควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควร สีใดก็ได้ ข้อความที่ปรากฏบนปกนอกดูได้ตามตัวอย่างที่ได้แสดงไว้          1.2 ใบรองปก คือ กระดาษเปล่า ๑ แผ่น อยู่ต่อจากปกนอก เพื่อความสวยงาม และเป็นเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้เสียหายถึงปกใน หากปกฉีกขาดเสียหายไป            1.3 ปกใน คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากปกนอก นิยมเขียนเหมือนปกนอก           1.4  คำนำ คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อ

Cold War สงครามเย็น

รูปภาพ
เรียบเรียงโดยนาลิน คงชูดี   1.  นิยามสงครามเย็น                       สงครามเย็น  หมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับ สหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน 2. สาเหตุของสงครามเย็น     1. ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ เมื่อสหภาพโซเวียตนำลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้บริหารประเทศ ทำให้เกิดความหวาดระแวงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ            2. ความขัดแย้งผลประโยชน์ของชาติ สหภาพโซเวียตเน้นในด้านความมั่นคงปลอดภัยโดยเฉพาะพรมแดน ด้านตะวันตกเป็นจุดอ่อนถูกศัตรูบุกรุกได้ง่าย สหภาพโซเวียตจึงดาเนินการสถาปนารูปแบบการปกครอง แบบคอมมิวนิสต์ในประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งมีฐานะเป็นประเทศบริวารส่วนความขัดแย้งในด้านเศรษฐกิจ เนื่องมาจากสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เ